วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มะเขือเทศและข้าว สำหรับคนท้อง

มะเขือเทศ จัดเป็นผลไม้ (หลายคนคิดว่าน่าจะเป็นผักมากกว่า) ที่คู่กับความสวยความงามของผู้หญิงมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ทั้งการบำรุงภายนอกและการกินเพื่อให้สวยจากภายใน ซึ่งประโยชน์จากมะเขือเทศ ก็มีมากมายจริงๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรมองข้ามหรือเขี่ยทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย


สีแดงในมะเขือเทศ มีดีอย่างไร
ที่มะเขือเทศมีสีแดง เพราะมีสารไลโคฟีนหรือแคโรทีนอยด์ ซึ่งช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิด ในมะเขือเทศยังมีโพแทสเซียม เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี และให้พลังงานต่ำ (ไม่อ้วนแน่นอน)

สิ่งที่ทำให้มะเขือเทศเป็นผลไม้คู่ความสวยงาม
เป็นเพราะว่า มะเขือเทศผลกลางๆ 1 ผล มีวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล และมีวิตามินเอ 1 ใน 3 ของวิตามินเอทั้งหมดที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน

ผลการพิสูจน์ประโยชน์จากมะเขือเทศ
* ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา จึงนำไปใช้เป็นยารักษาโรคบริเวณปากที่เกิดจากเชื้อราได้
* สารไลโคฟีน ลดการเกิดมะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมากได้ (ฝากบอกถึงคุณพ่อบ้านว่า การกินมะเขือเทศ 10 ครั้ง : สัปดาห์ ช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ 45%)
* มีกรดอะมิโนที่ชื่อ กลูตามิค เป็นกรดที่ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร (ทำให้เจริญอาหารได้เป็นอย่างดี เป็นตัวเดียวกับที่อยู่ในผงชูรส)
* มะเขือเทศที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและเอช่วยให้ผิวพรรณสดใสจากภายใน เลือดไหลเวียนดี แต่ถ้าอยากให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม ชุ่มชื่นก็ฝานบางๆ และนำมาแปะไว้บนใบหน้าสัก 15 นาที หรือจะคั้นน้ำสดๆ มาทาหน้า จะช่วยลดริ้วรอย

ข้าว' นับเป็นอาหารหลักของคนไทย ซึ่งข้าวก็มีหลากหลายพันธุ์และมีคุณค่าทางอาหารแตกต่างกันไป การเลือกชนิดของข้าวก็จะทำให้คุณแม่ได้รับคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ต่อคุณแม่และลูกในท้องด้วยค่ะ

+ ข้าวกล้อง :
มีสีน้ำตาลอ่อน เป็นข้าวที่ สีเอาเปลือกออกโดยที่ยังมีจมูกข้าวและ เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ ซึ่งมีคุณค่าอาหารที่มีประโยชน์มาก
ประโยชน์ : ข้าวกล้องมีใยอาหารเหลืออยู่มากกว่าข้าวขัดสี 3 เท่า การกินข้าวกล้องทุกวันจะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น นอกจากนี้ข้าวกล้องยังอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากชนิด เช่น วิตามินบี1 ป้องกันโรคเหน็บชา, ฟอสฟอรัส ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน, แคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรง ป้องกันอาการตะคริว, ธาตุเหล็ก ป้องกันโรคโลหิตจาง เป็นต้น

+ ข้าวมันปู : เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเปลือกข้าวสีน้ำตาลแดงแบบสีมันปู จัดเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือชนิดหนึ่ง มีไขมันในปริมาณเดียวกับข้าวกล้อง และมีสารแคโรทีนที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอสูงกว่าข้าวขัดสี
ประโยชน์ : ข้าวมันปูมีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็กในปริมาณที่สูงและยังมี แร่ธาตุต่างๆ เช่น ทองแดง วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี เป็นต้น การกินข้าวมันปูจะช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานปกติ รักษาอาการมือเท้าบวมหรือผื่นขึ้น และป้องกันโรคนอนไม่หลับ

+ ข้าวหอมนิล : เป็นข้าวกล้องที่มีเมล็ดสีม่วงเข้มออกดำ เมล็ดเรียวยาว มีโปรตีนสูงถึง 12.5% คาร์โบไฮเดรต 70% และยังมีธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม และโพแทสเซียมสูงกว่าข้าวขาว
ประโยชน์ : ข้าวหอมนิลมีสารต้านอนุมูล-อิสระที่เรียกว่า Proanthocyanidin ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าวิตามินซี วิตามินอี และเบตาแคโรทีน ในข้าวหอมนิลมีวิตามินอี วิตามินบีคอมเพล็กซ์ และแอนโทไซยานิน ที่ทำให้การไหลเวียนของเส้นเลือดฝอยดีขึ้น ช่วยฟื้นฟูสภาพเส้นผม ทำให้เส้นผมดำนุ่มสลวย ไม่แตกปลาย บำรุงรากผมให้แข็งแรง และชะลอการเกิดผมหงอกก่อนวัย

การออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ - อาหารบํารุงคุณแม่ตั้งครรภ์

การออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ กีฬาที่เคยเล่นเป็นประจำในตอนก่อนที่จะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็น ว่ายน้ำ เทนนิส ปั่นจักรยาน หรือวิ่งจ๊อกกิ้ง เหล่านี้ควรงดอย่างเด็ดขาด
ขอแนะนำสำหรับท่าบริหารในระหว่างการตั้งครรภ์ (ควรบริหารบนพื้นเบาะ)
  • ท่านั่ง ดึงเข่าขึ้นลง โดยการนั่งลงกับพื้นให้ฝ่าเท้าทั้งสองข้างติดกัน แล้วเอามือทั้งสองข้างจับที่เข่า และยกเข่าขึ้นลง
  • ท่านอนหงาย โดยให้แขนขวาราบไปกับพื้นแนบกับศีรษะ ส่วนแขนซ้ายแนบกับลำตัว แล้วเหยียดและงอเข่าไปมา
  • ท่าสะพานโค้งแบบคว่ำ ก้มศีรษะลงแล้วดันตัวให้ขึ้นไปเต็มที่จากนั้นก็ลงมาอยู่ในท่าปรกติ
  • ท่าบริหารปลายนิ้วมือ และนิ้วเท้า
  • ท่านอนตะแคงซ้ายขวา และยกเข่าสลับเข่าไปมา
  • ท่านอนหงายนวดท้องเบา ๆ
  • ท่านอนหงายนวดมือทั้งสองข้างสลับกันไปมา
  • ท่านอนหงายนวดหน้าอกเพื่อผ่อนคลาย
  • ท่านอนหงายนวดท้องน้อยขึ้นลง
  • ท่านอนหงายแล้วใช้มือซุกเข้าไปบริเวณหลัง (ท่านวดหลัง) ยกเข่าทั้งสองข้างขึ้น
  • ท่านอนหงายนวดขาออก โดยการยกเข่าขึ้นเล็กน้อยแล้วใช้ืมือทั้งสองบีบที่บริเวณต้นขาทั้งสองข้าง
  • อาหารสําหรับหญิงตั้งครรภ์ ที่ต้องคำนึงถึงและต้องหามารับประทาน ได้แก่
    • อาหารจำพวกเกลือแร่และวิตามิน ผักและผลไม้ อาหารจำพวกนี้คุณแม่จะขาดไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือแร่ธาตุเหล็ก แคลเซียม เพราะสารอาหารจำพวกนี้คุณแม่ จะสูญเสียไปเป็นอย่างมากในระหว่างที่ตั้งครรภ์ ดังนั้นคุณแม่ต้องหาอาหารจำพวกนี้ มารับประทานให้มาก
    • อาหารประเภทโปรตีน จำพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ นม อาหารจำพวกนี้นับได้ว่า มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยเสริมสร้างร่างกาย และพัฒนาการ ทางสมองของเด็กในครรภ์ ได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กฉลาดตั่งแต่อยู่ในครรภ์ ดังนั้นคุณแม่ควรหาอาหารประเภทนี้รับประทานให้มากขึ้นกว่าปรกติ
    • อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต จำพวก แป้ง น้ำตาล ข้าว ที่ให้พลังงาน และความอบอุนแก่ร่างกาย อาหารจำพวกนี้ก็ให้ทานตามปรกติ
    • อาหารจำพวกไขมัน อาหารจำพวกไขมัน คุณแม่ควรจะลดปริมาณลง เนื่องจากอาหารจำพวกนี้ เป็นสิ่งที่จะทำให้คุณแม่อ้วนมากเกินไป อาจส่งผลทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก เหนื่อยง่าย เพราะในระหว่างที่ กำลังตั้งครรภ์นั้น หัวใจของคุณแม่ต้องทำงานหนักกว่าคนปรกติมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อาหาร สำหรับคนท้อง

ผู้หญิงเรา เมื่อแต่งงานแล้วก็คงจะมีโอกาสท้อง ถ้ายิ่งเป็นท้องแรก ก็คงจะมีความตื่นเต้นกันยกใหญ่ ทั้งฝ่ายที่จะเป็นพ่อและแม่ในอนาคต และคงจะเริ่มมีความหวังที่จะได้ลูกมาเพื่อชื่นชมในเร็ววัน พ่อแม่บางคนก็มีความหวังที่จะได้ลูกชาย บางคนก็อยากได้ลูกสาว แต่ในที่สุดก็คงคิดว่าเพศไหนก็ได้ ขอให้แข็งแรงและสมบูรณ์ก็แล้วกัน

ปัญหาจึงมีอยู่ว่าทำอย่างไรจึงจะให้ลูกที่เกิดมาสมบูรณ์ตามที่หวังไว้ ความจริงเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ไม่น่า จะเป็นปัญหา เพราะคุณผู้หญิงที่ท้องคงจะทราบดีว่า เนื้อทุกส่วนของลูกในท้องนั้นเติบโตขึ้นมาได้ก็เพราะอาหารที่แม่กินเข้าไป ถ้าแม่กินดีพอเพียงกับที่ร่างกายต้องการ ลูกจะแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนักได้มาตรฐาน แต่ถ้าแม่กินอาหารไม่พอและไม่ถูกต้อง จะเป็นเพราะเหตุใดก็แล้วแต่ ลูกที่เกิดมาจะตัวเล็กกว่าปกติ และอาจจะมีปัญหาการขาดอาหาร ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ทีเดียว

โดยปกติถ้าคุณแม่ที่มีสุขภาพดี และได้อาหารเพียงพอกับที่ร่างกายต้องการในระยะตั้งท้องแล้ว คุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในระยะครึ่งหลังของการตั้งท้อง โดยเฉพาะ 3-4 เดือนก่อนจะคลอด
น้ำหนักที่เพิ่มในระยะตั้งท้องนั้น ประมาณ 3 กิโลกรัมจะเป็นน้ำหนักของลูก ประมาณ 2-4 กิโลกรัมจะเป็นไขมันสะสมในตัวแม่ สำหรับที่จะเป็นพลังงานสะสมนำมาผลิตเป็นน้ำนมให้แก่ลูกในระยะหลังคลอด และน้ำหนักอีกประมาณ 4-5 กิโลกรัม จะเป็นน้ำหนักของรกและปริมาณสารน้ำ รวมทั้งเลือดที่เพิ่มขึ้นในตัวคุณแม่ น้ำหนักและไขมันที่เพิ่มขึ้นในระยะตั้งท้องนี้ จะทำให้คุณแม่ดูมีน้ำมีนวลและผิวพรรณแต่งตึงมากขึ้น รวมทั้งขนาดของเต้านมก็จะโตขึ้นด้วย

อาหารที่คุณผู้หญิงที่ตั้งท้องควรกินนั้น จริง ๆ แล้วปฏิบัติไม่ยากอะไรเลย ถ้ายึดหลักง่าย ๆ ว่า กิน อาหารเหมือนกับที่เคยปฏิบัติก่อนที่จะตั้งท้อง แล้วเพิ่มอาหารที่เป็นประโยชน์ให้มากขึ้น หรือถ้าจะพูดง่าย ๆ ก็คือ หญิงที่ตั้งท้อง ควรจะ “กินเผื่อลูกในท้องด้วย” สำหรับชนิดและปริมาณของอาหารที่กินเพิ่มเติมนั้น ควรเน้นอาหารพวกไข่, เนื้อสัตว์, ถั่วค่าง ๆ และผักผลไม้ สำหรับอาหารประเภทแป้ง อันได้แก่ ข้าว, ก๋วยเตี๋ยว ควรจะกินให้เหมือนเดิมแต่อาจจะเพิ่มเล็กน้อย อาหารพวกขนมหวานต่าง ๆ ที่มีน้ำตาลไม่ควรจะกินเพิ่มไปจากก่อนการตั้งท้อง สำหรับอาหารพวกไขมันนั้น ควรกินให้เหมือนก่อนการตั้งท้อง ยกเว้นว่าคุณแม่คนนั้นมีการขาดไขมัน อันเป็นต้นตอของพลังงานอยู่แล้ว จึงควรจะพิจารณากินเพิ่มขึ้น

พวกวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะได้จากอาหารอยู่แล้ว เช่น ไข่, ตับ, ผัก และผลไม้ แต่ก็ยังมีแร่ธาตุที่มักจะมีปัญหาการขาดอยู่เสมอในขณะตั้งท้อง ก็คือธาตุเหล็ก ซึ่งเมื่อขาดแล้ว จะทำให้เกิดเป็นโรคโลหิตจาง เพราะร่างกายขาดเหล็กในการสร้างเม็ดเลือด อาหารที่มีธาตุเหล็กมากคือ เลือดหมู, ตับ, เนื้อสัตว์ และถั่วต่าง ๆ ถ้าหญิงตั้งท้องกินมากพอก็จะไม่เกิดปัญหา อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันการขาดธาตุเหล็กจนเกิดโรคโลหิตจางขึ้น หญิงตั้งท้องควรจะได้ธาตุเหล็กเพิ่มในรูปของยาเม็ด เช่น ยาเม็ดเฟอรัสซัลเฟต ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปแพทย์ก็มักจะให้กินเป็นประจำในระยะนี้ สำหรับแร่ธาตุอีกตัวที่อาจจะมีปัญหาการขาดได้คือ แคลเซี่ยม ซึ่งมีความจำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน แคลเซี่ยมจะมีมากในนมและในปลาป่นที่ได้มากจากปลาตัวเล็ก ๆ และป่นเอากระดูกปลาไว้ด้วย สมควรที่หญิงตั้งท้องควรกินเพิ่มเติม

อาหารที่สำคัญที่หญิงตั้งท้องต้องกินเพิ่มเติมแน่ ๆ ก็คือ อาหารพวกโปรตีนหรืออาหารพวกเนื้อสัตว์, ไข่, นม และถั่วต่าง ๆ และอาหารพวกให้พลังงานสำหรับการเติบโต ซึ่งจะได้จากทั้งอาหาร พวกแป้งและไขมัน ฉะนั้นถ้าอาหารอะไรก็แล้วแต่ ที่มีคุณค่าดีที่จะให้ทั้งโปรตีนและพลังงานแล้ว หญิงที่ตั้งท้อง ควรจะกินเพิ่มเติม ถ้าจะพิจารณากันเป็นตัวเลขแล้ว หญิงที่ตั้งท้องควรจะได้โปรตีนเพิ่มขึ้นจากอาหารปกติวันละประมาณ 13 กรัม และพลังงานวันละ 350 แคลอรี่ ปริมาณทั้งโปรตีนและพลังงานที่เพิ่มนี้จะได้มาจากการกินอาหารเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ได้มาจากการกินเม็ดยา หรือโปรตีนแค็ปซูลใด ๆ ทั้งสิ้น

อาหารที่ควรจะได้รับเพิ่มเติมประจำวัน มีดังนี้
นมสดหรือนมถั่วเหลือง วันละ 2 แก้ว
สำหรับคุณแม่ที่ไม่ดื่มนม ควรจะกินไข่วันละ 2 ฟอง หรือเนื้อสัตว์ทุกชนิด รวมทั้งปลาและตับด้วย วันละประมาณครึ่งขีด (50-60 กรัม) หรือถั่วลิสงครึ่งขีด หรือเต้าหู้เหลือง 1 แผ่น ขนาดกว้าง 5 ซ.ม. ยาว 5 ซ.ม. หรือเต้าหู้ขาว 2 แผ่น ขนาดกว้าง 10 ซ.ม. ยาว 10 ซ.ม.
อาหารดังกล่าวข้างต้นอาจจะคละกันก็ได้ เช่น กินอาหาร 2 อย่างรวมกัน แต่ปริมาณของแต่ละอย่างลดเป็นครึ่งหนึ่งของที่ระบุไว้ เช่น ไข่ 1 ฟอง ร่วมไปกับปลาหรือเนื้อสัตว์ครึ่งส่วน เป็นต้น

สำหรับอาหารประเภทผลไม้นั้น ควรจะกินเป็นประจำ เพิ่มไปจากอาหารพวกไข่และเนื้อสัตว์ ผลไม้ที่นิยมกันแพร่หลาย อาจจะกินอย่างใดอย่างหนึ่งในหนึ่งวัน ก็คือ กล้วยน้ำว้าหรือกล้วยไข่ 2 ผล กล้วยหอม 1 ผล ส้มเขียวหวาน 2 ผล เงาะ 8 ผล มะละกอสุกหรือสับปะรด ประมาณ1/5-1/6 ของลูก
อาหารพวกผักต่าง ๆ นั้น หญิงตั้งท้องสามารถกินได้โดยไม่จำกัด โดยเฉพาะพวกผักใบเขียวต่าง ๆ เช่น ผักบุ้ง ตำลึง คะน้า ถั่วฝักยาว เป็นต้น สำหรับมะเขือเทศและฟักทอง ถ้ากินได้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะจะทำให้วิตามันที่สำคัญต่อการเติบโตของเยื่อบุตาและต่อการทำงานของตา

การวัดผลดูว่า ได้รับอาหารพอเพียงกับความต้องการขณะตั้งท้องนั้นหรือไม่ ทำได้ง่าย ๆ คือ น้ำหนักเพิ่มขึ้นในระยะก่อนตั้งท้อง ไปจนถึงก่อนคลอดจะเป็นประมาณ 10-12 กิโลกรัม และน้ำหนักส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นในระยะครึ่งหลังของการตั้งท้อง ถ้าหากเกิดมีอาการบวมที่ขา 2 ข้าง จนกดแล้วบุ๋ม ควรจะได้รับการตรวจอย่างละเอียดจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับต่าง ๆ การวัดผลอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าแม่ได้อาหารพอเพียงและสุขภาพดี ลูกที่เกิดมาจะมีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย แต่ถ้าเกิดปัญหาลูกได้อาหารไม่พอจะมีน้ำหนักต่ำกว่า 2.7 กิโลกรัม และเด็กจะมีลักษณะตัวเหี่ยว ผิวหนังบางและแห้ง จนอาจมีการลอกหลุดเป็นขุย ๆ

เมื่อคุณแม่ที่ตั้งท้องมีความรู้ความเข้าใจถึงเรื่องอาหารที่ควรได้รับเพิ่มเติมไปจากอาหารในระยะก่อนตั้งท้องแล้ว จะยังมีคุณแม่จำนวนไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตัวเล็กหรือคุณแม่ที่อยู่ในชนบท อาจจะเกิดความกลัวว่า ถ้าบำรุงตนเองมาก ๆ แล้ว จะทำให้ลูกตัวโตจนเกินไป ทำให้คลอดลำบาก เรื่องนี้ จะว่าไปก็มีส่วนจริงอยู่บ้าง แต่ปัญหาค่อนข้างซับซ้อนเพราะคุณแม่ที่ตัวเล็ก อาจจะเป็นเพราะเคยขาดอาหารมาตั้งแต่เด็ก ๆ ก็ได้ ทำให้ตัวเล็กและมีเชิงกรานแคบด้วย และในชนบทเนื่องจากบริการด้านอนามัยของแม่และเด็กยังไปไม่ทั่วถึง ก็อาจจะกลัวเรื่องคลอดยากหรือเด็กคลอดแล้วติด เพราเด็กโตไป เรื่องนี้แก้ไขได้ที่สาเหตุโดยไม่ต้องกลัวว่าอาหารที่กินเข้าไปจะเป็นปัญหา เพราะถ้าแม่ที่ตัวเล็ก ก็อาจมีปัญหาการคลอดอยู่แล้ว ควรจะได้รับการตรวจและติดตามอย่างใกล้ชิดจากยาบาลผดุงครรภ์หรือแพทย์เพื่อช่วยเหลือ สำหรับการบริการสาธารณสุขในชนบทนั้น รัฐบาลก็ได้พยายามกระจายบริการด้านนี้อยู่แล้ว จึงควรจะเบาใจได้และหญิงทั้งครรภ์ ควรจะได้อาหารให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ เพื่อให้ได้ลูกที่สมบูรณ์และแข็งแรง

โยคะสำหรับหญิงตั้งครรภ์

ท่าโยคะสำหรับหญิงตั้งครรภ์ฉบับนี้เป็นตอนแรก ท่าที่แนะนำให้ทำ คือ ท่าแมวยกขา และท่าผีเสื้อ ท่าแมวมีประโยชน์ช่วยให้ขาและหลังแข็งแรง เตรียมพร้อมเพื่อการรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ลดอาการปวดหลังได้ด้วย การหายใจจะดีขึ้น ช่วยให้ออกซิเจนไปถึงลูกน้อยได้มากขึ้น ส่วนท่าผีเสื้อ ทำให้อุ้งเชิงกรานได้รับการบริหาร ผู้ที่ต้องการคลอดธรรมชาติ จะทำให้คลอดง่ายขึ้น
วิธีปฏิบัติท่าแมวยกขา

1.เริ่มด้วยท่าแมว วางมือและเข่าเท่าความกว้างของไหล่ แขนและต้นขาให้ตั้งฉากกับพื้น ปลายเท้าปล่อยราบกับพื้น (รูป 1)

2.หายใจเข้า หายใจออก ยกขาขวาขึ้นขนานพื้น หายใจเข้าออกยาวๆ 2-3 ลมหายใจ (รูป 2)
3.หายใจเข้า หายใจออก ยกแขนซ้ายขึ้นขนานพื้น ทรงตัวให้ดี ระวังล้ม หายใจเข้าออกยาวๆ 2-3 ลมหายใจ (รูป 3) ลดแขนขาลง หายใจเข้าออก แล้วทำสลับข้าง

วิธีปฏิบัติท่าผีเสื้อ

1.นั่งพับขาเข้ามาหากัน ฝ่าเท่าชิดกัน มือจับเท้าทั้งสอง ดึงเท้าเข้าใกล้สะโพก หลังยืดตรง พยายามกดเข่าใกล้พื้น (รูป 4)

2.หายใจเข้า ยืดหลังยืดตัวไปด้านหน้า หายใจออกค่อยๆ โน้มตัวลง ให้มากเท่าที่ทำได้ เงยหน้าไว้เพื่อให้หลังถูกยืด หายใจเข้าออกลึกๆ ค้างไว้สักครู่แล้วลดลง (รูป 5, 6)